การสับสนการเข้าใจเคลื่นในเรื่องการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์ wirless Indoor/Outdoor
รหัสสินค้า: 305
สถานะสินค้า: มีสินค้า
สถานะสินค้า: มีสินค้า
ราคา: 0.00 บาท
การสับสนการเข้าใจเคลื่นในเรื่องการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์ wirless Indoor/Outdoor
ผมนำบทความนี้มาฝาก สำหรับท่านที่ยังมีความคิดสับสน การส่งสัญญาณ Wifi ไปยังสถานที่ไกลๆ
ได้ข้อมูลจากเว็บ sys2u ก็ต้องขอบคุณบทความแรกเปลี่ยนที่มีประโยชน์ต่อทุกคน
และได้ประยุกต์คำพูดแก่เพิ่มประสบการณ์ของผมเพิ่มเข้าไป
"
Access Point ที่สามารถส่งสัญญาณได้ระยะทางไกลประมาณ 2 กิโลเมตร หรือมากกว่านั้นไม่มีนะครับผม
แต่ที่มันสามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลนั่นก็เพราะ "เสาอากาศ (Antenna)" ครับ
โดยวิธีการเลือกใช้เสาอากาศจะต้องพิจารณารูปแบบ
ของการกระจายสัญญาณ พื้นที่ที่นำไปติดตั้ง รวมไปถึงข้อจำกัดในการใช้งานครับ
โดยทั่วไปมักจะเข้าใจกันว่า เสาอากาศ Outdoor ที่เป็นแบบ Omni ที่รองรับระยะทางตั้งแต่ 0.8-3.6 กิโลเมตรนั้น
เมื่อเรานำไปติดตั้งกับ Access Point ของเราแล้วจะสามารถส่งสัญญาณได้ครอบคลุมพื้นที่ตามที่เราต้องการ
และก็สามารถนำเอา Notebook หรือ PC เข้าไปจับสัญญาณมาใช้งานได้ทันที ความเข้าใจนี้เป็นความเข้าใจที่ "ผิด" นะครับ
เนื่องจากเหตุผลที่ว่า การใช้งานในแบบไร้สาย Wireless หรือ Wi-Fi เป็นการใช้งานแบบ "รับและส่ง"
ดังนั้น ถ้าเรามีชุดตัวส่งที่แรงเพียงฝั่งเดียวก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรครับ นั่นก็คือเราจะต้องมีทั้งชุดรับ และชุดส่ง
ที่สามารถรองรับระยะทางตามที่เราต้องการด้วยครับผม
โดยปกติเสาอากาศแบบ Omni หรือเสาแบบรอบทิศทางจะค่อนข้างส่งสัญญาณได้ "เบา" อยู่แล้วครับ
ถ้าใช้ Notebook ทำการ Scan สัญญาณก็น่าจะเจอประมาณ 2-3 ขีด (แบบภายนอกอาคาร)
ซึ่งก็ถือว่าเป็นระดับสัญญาณปกติที่สามารถใช้งานได้แล้วครับ เพราะการใช้เสา Outdoor ไม่ได้หมายความว่า
เราไปอยู่ภายนอกอาคารแล้วจะรับสัญญาณได้แรง 4-5 ขีด เหมือนกับการใช้เสาอากาศแบบ Indoor ภายในบ้านนะครับ
สำหรับในกรณีที่เข้ามาภายในบ้านและรับสัญญาณได้ต่ำลง เหลือประมาณ 20% และ
ความเร็วได้ประมาณ 12 Mbps -> ความเร็วที่ได้นี้ถือว่าเก่งแล้วนะครับ เพราะโดยปกติเสาอากาศแบบ Outdoor
จะไม่สามารถส่งสัญญาณทะลุกำแพงบ้านเข้ามาภายในบ้านของเราได้
ซึ่งการที่จะรับสัญญาณภายในบ้านจำเป็นที่จะต้องอยู่ในบริเวณที่ใกล้หน้าต่าง
หรือช่องที่สามารถจะใช้สัญญาณทะลุเข้ามาได้ครับ ดังนั้นการเกิดเหตุกาณณืแบบนี้ถือว่าปกติครับ
"
ทั้งหมดนี้เป็นบทความที่อาจจะไขปัญหาค่าใจไม่มากก็น้อย พี่เขาตอบคำถามไว้ดีมากๆ เลยครับ
ขอบคุณ sys2u จริงๆ
เขียนข้อคิดเห็น
ชื่อของคุณ:ความคิดเห็น: หมายเหตุ: ไม่รองรับข้อความที่มีรูปแบบ เช่น HTML!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: